พินิจ งามพริ้ง เกิดเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2510 เป็นคนกรุงเทพฯ บิดาชื่อ ร.ต.ต. ธนู งามพริ้ง มารดาคือ นางกรองกาญจน์ งามพริ้ง พินิจจบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เริ่มทำงานครั้งแรกกับหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ เมื่อปี 2532 ในฐานะผู้สื่อข่าวด้านเศรษฐกิจ หลังจากนั้นเมื่อปี 2540 ย้ายไปดำรงตำแหน่ง ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ที่บริษัท สหวิริยา ซิตี้ จำกัด เขายังคงทำงานด้านสื่อสารการตลาดและประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องทั้งที่ ธนาคารกรุงเทพ ที่ บริษัท โอกิลวี พับลิกรีเลชั่นส์ เวิรล์ดวายด์ จำกัด - บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) - บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ - บริษัท ดีซี คอนซัลแทนซ์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด ในตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์
1995 ทุนการศึกษาโดยสมาพันธ์สื่อมวลชนแห่งอาเซียน (Confederation of ASEAN Journalists) ในหัวข้อ “Business Ethics and Social Responsibilities” เป็นเวลา 2 เดือน ณ ประเทศญี่ปุ่น
1988-1995 หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ (Bangkok Post Newspaper) ในตำแหน่ง ผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ (Business Reporter) พินิจทำข่าวด้านการตลาดและการลงทุน
1998-2003 บริษัท โอกิลวี่ พับลิกรีเลชั่นส์ เวิร์ลวายด์ จำกัด (Ogilvy Public Relations Worldwide Ltd.) ในตำแหน่ง ผู้จัดการสื่อสารการตลาด (Marketing Communications Manager), มีส่วนร่วมในโครงการสื่อสารการตลาดและสื่อสารองค์กรของ บริษัทต่างๆ เช่น - ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย (Microsoft Thailand) - เอคเซนเชอร์ (Accenture) - ธนาคารกรุงไทย (Krung Thai Bank) - กรุงไทยการ์ด (KTC) - อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand) - กองทุนเพื่อสัตว์ป่าโลก (Wild Life Fund) - คณะกรรมการกำกับและดูแลตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (กกต.) - ฟอร์ด เซลส์ แอนด์เซอร์วิสเซส ประเทศไทย (Ford Sales & Services (Thailand) Co., Ltd.) - แลนด์ โรเวอร์ ประเทศไทย (Land Rover Thailand Co., Ltd.)
2003-2005 บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด (Mazda Sales (Thailand) Co., Ltd.)ในตำแหน่งผู้จัดการกิจการองค์กร (Corporate Affairs Manager), พินิจดูแลงานด้านสื่อสารองค์กร และสื่อสารการตลาดต่างๆ เขาอยู่เบื้องหลังในงานต่างๆ เช่น การสร้างแบรนด์ Zoom-Zoom ให้เป็นที่รู้จักในตลาดเมืองไทย, การเปิดตัว Mazda3 ในเมืองไทย, ริเริ่มการจัด แรลลี่ “Zoom-Zoom” และกิจกรรมสำหรับลูกค้าของมาสด้า, โครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ, การปฏิวัติและจัดระเบียบเว็บไซต์ www.mazda.co.th
2006 - 2007 บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด (Mitsubishi Motors (Thailand) Co., Ltd)ในตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักการตลาด งานที่โดดเด่นไดแก่ - เพิ่มปริมาณสัดส่วนข่าว (Share of Voice) ของแบรนด์รถยนต์มิตซูบิชิจาก 5% ในปี 2005 เป็น 17% ในปี 2006 และอันดับสูงขึ้นจากอันดับที่ 5 ในปี 2005 เป็น อันดับที่ 3 ในปี 2006 ทั้งนี้โดยรับรองโดยบริษัท Media Banc จำกัด โดยเปรียบเทียบกับคู่แข่งโดยตรง - โครงการ “ขับขี่ปลอดภัยถวายในหลวง” ร่วมกับกองบังคับการตำรวจทางหลวง - การเฉลิมฉลองการส่งออกครบ 800,000 คัน - การจัดผู้สื่อข่าวVIP เยี่ยมชมกิจการในญี่ปุ่น และอังกฤษ - รายการเรียลลิตี้โชว์ “คนเก่ง เกมนักขับ EVO Challenge” ทางช่อง iTV
2008 บริษัท ดีซี คอนซัลแทนซ์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด ตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์
2006 อาจารย์พิเศษ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลับธุรกิจบัณฑิตในวิชา - การเขียนเพื่องานประชาสัมพันธ์ - การสร้างภาพลักษณ์ - การบริหารสื่อมวลชนสัมพันธ์ที่ดี - การประชาสัมพันธ์ในเชิงการตลาด (สำหรับนักศึกษา MBA) - ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารมวลชน
2005 ปาถกฐาพิเศษให้กับพนักงานขายของบริษัท แคท เทเลคอม จำกัด (การสื่อสารแห่งประเทศไทย เดิม) ในหัวข้อ “การรับมือลูกค้าเจ้าปัญหา” (The best way to handle problem, and angry customers)
2004 ปาถกฐาพิเศษให้กับผู้บริหารระดับสูง บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด ในหัวข้อ “การรับมือกับสื่อ” (How to handle the Press)
2003 ปาถกฐาพิเศษให้กับผู้บริหารระดับสูง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ) ในหัวข้อ “การรับมือกับสื่อ” (How to handle the Press)
เขาก่อตั้งชมรมเชียร์ไทย และเว็บไซต์ cheerthai.com เมื่อปีพ.ศ. 2544 โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่มแฟนบอลชาวไทย เพื่อการพัฒนาที่ดีขึ้นของวงการฟุตบอลไทย เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นวัฒนธรรมใหม่ในการเชียร์ฟุตบอลไทยในหมู่แฟนบอลไทย เพื่อเป็นแกนนำและส่งเสริมการพัฒนาชมรมเชียร์ฟุตบอลในจังหวัดต่างๆ ที่ร่วมแข่งระดับไทยลีก และโปรวินเชี่ยลลีก เพื่อส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่ซึมซับความรักชาติในรูปแบบของการเชียร์กีฬา เพื่อขยายฐานกองเชียร์ทีมชาติไทย
พินิจสร้างชมรมเชียร์ไทยเพื่อเป็นกลุ่มนำในการสร้างวัฒนธรรมใหม่ในการเชียร์ฟุตบอลทีมชาติไทย โดยมีเว็บไซต์ cheerthai.com เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นชมรมเชียร์ไทย จัดกิจกรรมให้สมาชิกเข้านำเชียร์ฟุตบอลทีมชาติไทยอย่างต่อเนื่อง เช่น การแข่งขันฟุตบอลคิงส์คัพ การแข่งขันฟุตบอลปรีโอลิมปิก การแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก การแข่งขันฟุตบอลอาเซียนคัพ และการแข่งขันนัดพิเศษและอุ่นเครื่องต่างๆ ปัจจุบัน ชมรมเชียร์ไทยมีสมาชิกประมาณ 3,000 คนทั่วประเทศ และมีชุมชนแฟนฟุตบอลไทยทั้งประจำและจรประมาณ 10,000 คน
พินิจ และกลุ่มเชียร์ไทยได้สร้างประวัติศาสตร์ให้กับวงการ ฟุตบอลไทยด้วยการประท้วงขับไล่นายกสมาคมฟุตบอลสมัยที่นายวิจิตร เกตุแก้ว ดำรงตำแหน่ง ซึ่งนายวิจิตรลาออกจากตำแหน่งในเวลาต่อมา